เลขที่ 999 หมู่ที่ 6 ต.วังเหนือ
อ.วังเหนือ จ.ลำปาง 52140
เปิดบริการ จันทร์ - ศุกร์
08.00 น.-16.30 น.
หยุด เสาร์ - อาทิตย์
โทร.0-5427-9006 โทรสาร.0-5427-9339
อีเมล :saraban_05520701@dla.go.th
ข้อมูลครัวเรือนและประชากร (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2563)
ข้อมูลครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ แยกเป็นระดับหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่บ้าน | จำนวน / หลัง |
บ้านทัพป่าเส้า หมู่ที่ 1 | 181 |
บ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ 2 | 95 |
บ้านใหม่ หมู่ที่ 6 | 599 |
รวม 3 หมู่บ้าน | 875 |
จำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ แยกเป็นชุมชน ดังนี้
ชุมชน | จำนวน (หลัง) |
บ้านเหล่า | 89 |
ทัพป่าเส้า | 88 |
ร่วมใจพัฒนา | 160 |
ก้าวหน้า | 97 |
เฮือนหลวง | 107 |
ร่มโพธิ์ทอง | 109 |
พญาวัง | 97 |
ใหม่พัฒนา | 95 |
รวม 8 ชุมชน | 842 |
ข้อมูลประชากร
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่
แยกเป็น ชาย 1,285 คน หญิง 1,297 คน รวม 2,582 คน
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ แยกเป็นหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่บ้าน | ชาย (คน) | หญิง (คน) |
---|---|---|
บ้านทัพป่าเส้า หมู่ที่ 1 | 308 | 294 |
บ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ 2 | 137 | 119 |
บ้านใหม่ หมู่ที่ 6 | 840 | 884 |
รวม 3 หมู่บ้าน | 1,285 | 1,297 |
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ แยกเป็นชุมชน ดังนี้
ชุมชน | ชาย (คน) | หญิง (คน) |
---|---|---|
บ้านเหล่า | 159 | 147 |
ทัพป่าเส้า | 149 | 147 |
ร่วมใจพัฒนา | 246 | 261 |
ก้าวหน้า | 139 | 139 |
เฮือนหลวง | 150 | 146 |
ร่มโพธิ์ทอง | 174 | 178 |
พญาวัง | 131 | 160 |
ใหม่พัฒนา | 137 | 119 |
รวม 8 ชุมชน | 1,285 | 1,297 |
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม
ทางบก
ถนนในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่มีโครงข่ายของถนนเชื่อมโยงติดต่อกันได้ในทุกพื้นที่ และยวดยานสามารถสัญจรไปมาได้ตลอดทุกฤดูกาล มีถนนกรมทางหลวงชนบท(รพช.เดิม) ตัดผ่านพื้นที่เทศบาลเป็นถนนสายหลักมีความกว้างการจราจร 6 เมตร และไหล่ทาง 1.50 เมตร ระยะทางตัดผ่านพื้นที่ 3.15 กิโลเมตร มีสะพาน ข้าม 3 แห่ง และสะพานเพื่อการเชื่อมต่อการจราจรในเขตเทศบาล 1 แห่ง ถนนสายหลักความกว้างของถนนเฉลี่ย 6+ เมตร ตรอก ซอย กว้างเฉลี่ย 3.5 - 4 เมตร สภาพถนนผิวจราจรคอนกรีต จำนวน 34 สาย รวมระยะทางประมาณ 8,669 เมตร
ถนนลูกรัง จำนวน 4 สาย รวมระยะทางประมาณ 5,476 เมตร
ถนนลาดยาง จำนวน 7 สาย รวมระยะทางประมาณ 6,347 เมตร
(หมายเหตุ : ถนนลาดยางค่อนข้างจะแคบ และถนนคอนกรีตบางสายอยู่ในสภาพชำรุดควรได้รับการซ่อมแซม/ปรับปรุง) เทศบาลมีปัญหาการจราจรในถนนสายหลักเขตชุมชนของบ้านใหม่ เช่น บริเวณหน้าโรงเรียนชุมชนบ้านใหม่ บริเวณปากซอยและแยกเข้าหน้าวัดบ้านใหม่ และปากซอยแยกต่างๆ เป็นต้น
ทางน้ำ
เทศบาลตำบลบ้านใหม่ไม่มีการสัญจรทางน้ำเนื่องจากเทศบาลตำบลบ้านใหม่อยู่ใกล้ภูเขา ซึ่งมีแหล่งน้ำสำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำวัง
และลำเหมืองแม่วังมีสภาพตื้นเขิน
การประปา
ประชาชนได้ใช้แหล่งน้ำดังกล่าว เพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร นอกจากนั้นประชาชนยังสามารถใช้น้ำจากแหล่งผิวดิน เช่น สระน้ำ บ่อน้ำตื้น ซึ่งสามารถขุดขึ้นใช้เองในระดับ 3 - 10 เมตร จากผิวดิน ตลอดจนสามารถขุดเจาะบ่อบาดาลน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้สอยได้ตลอดปีอีกด้วย โดยคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่
1) ผู้ใช้ประปาซึ่งเป็นประปาของส่วนภูมิภาค จำนวน 274 ครัวเรือน
2) ผู้ใช้ประปาเป็นประปาหมู่บ้าน จำนวน 566 ครัวเรือน
3) ผู้ใช้ซึ่งเป็นประปาของกลุ่มผู้ใช้น้ำเอกชน จำนวน - ครัวเรือน
การไฟฟ้า
1) ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือน เป็นจำนวน 840 หลังคาเรือน
2) พื้นที่ ที่ได้รับการบริการไฟฟ้า คิดเป็น ร้อยละ 100 ของพื้นที่
3) ไฟฟ้าบริการสาธารณะ(ไฟฟ้าส่องสว่าง) จำนวน 350 จุด ครอบคลุมถนนทุกสาย
การสื่อสารและโทรคมนาคม
1) จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 835 ครัวเรือน
2) โทรศัพท์สาธารณะ - แห่ง
3) ระบบเสียงตามสายในพื้นที่ได้ให้บริการครอบคลุมร้อยละ 100 ของพื้นที่
ลักษณะการใช้ที่ดิน
แสดงการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ
- พื้นที่พักอาศัย 235 ไร่ - พื้นที่ การเกษตร 577 ไร่
- พื้นที่พานิชยกรรม 125 ไร่ - พื้นที่อุตสาหกรรม 85 ไร่
- พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ 14 ไร่ - พื้นที่ตั้งสถานศึกษา 24 ไร่
- พื้นที่สาธารณะ/นันทนาการ 57 ไร่ - พื้นที่ว่าง - ไร่
ด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร
การประกอบอาชีพ
- ทำนา 447 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 25,000 บาท / ปี / ครอบครัว
- ทำสวน 34 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 80,000 บาท / ปี / ครอบครัว
- ทำไร่ 114 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 50,000 บาท / ปี / ครอบครัว
- รับราชการ 25 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 200,000 บาท / ปี / ครอบครัว
- รับจ้าง 98 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 75,000 บาท / ปี / ครอบครัว
- พนักงานบริษัท 8 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 100,000 บาท / ปี / ครอบครัว
- ค้าขาย 68 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 50,000 บาท / ปี / ครอบครัว
- การบริการ 12 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 75,000 บาท / ปี / ครอบครัว
- อุตสาหกรรม 8 ครอบครัว รายได้เฉลี่ย 129,000 บาท / ปี / ครอบครัว
รายได้เฉลี่ยประชากร หมู่ 1 ต่อคน / ปี 24,404.06 บาท
รายได้เฉลี่ยประชากร หมู่ 2 ต่อคน / ปี 17,418.48 บาท
รายได้เฉลี่ยประชากร หมู่ 6 ต่อคน / ปี 20,868.00 บาท
การเกษตรกรรม
การประกอบอาชีพของประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรม มีการทำนาเพื่อบริโภคในครัวเรือน และมีการรับจ้างเมื่อหมดจากการทำนาและบางส่วนมีการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ข้าวโพด , ถั่วเหลือง , กระเทียม จำแนกดังนี้
พืชไร่ กระเทียม ร้อยละ 41 ถั่วเหลือง ร้อยละ 33 ข้าวโพด ร้อยละ 21 พืชชนิดอื่นๆ ร้อยละ 5 พืชสวน ได้แก่ มะม่วง ร้อยละ 21 มะขาม ร้อยละ 58 ลำไย ร้อยละ 10 อื่นๆ ร้อยละ
การพานิชยกรรมและการบริการ
1) สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
- ผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน(ปั้มหลอด) 5 แห่ง
- ผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน(ปั้มหลอด) 3 แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป 33 แห่ง
2) สถานประกอบการเทศพาณิชย์
- โรงฆ่าสัตว์ 1 แห่ง
- ตลาดสด 1 แห่ง
3) สถานประกอบการด้านบริการ
- สถานประกอบการจำหน่ายอาหารตาม พ.ร.บ. สาธารณสุข 1 แห่ง
การอุตสาหกรรม
- โรงสีข้าวขนาดไม่เกิน 25 แรงม้า 4 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก 4 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง 1 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ - แห่ง
การท่องเที่ยว
เทศบาลตำบลบ้านใหม่ มีโบราณสถาน (บริเวณศาลเจ้าพ่อพญาวัง) เพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 1 แห่ง
การปศุสัตว์
เทศบาลตำบลบ้านใหม่ไม่พบมีการปศุสัตว์ขนาดใหญ่ พบแต่เพียงการเลี้ยงสัตว์ เช่น โค รายละไม่เกิน 20 ตัว พบทั้งหมด 5 ราย และเลี้ยง สุกร ในชุมชนเป็นการเลี้ยงเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายในชุมชน จำนวน ร้อยละ 22 ของ จำนวนครัวเรือนทั้งหมด
ด้านสังคม
ชุมชนจำนวน 8 แห่ง จำนวนบ้านเรือน 840 หลังคาเรือน
ศาสนา
ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่
วัด จำนวน 2 วัด คือ วัดบ้านใหม่ และ วัดทัพป่าเส้า
วัฒนธรรม
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
1) พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อพญาวัง ประมาณเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม กิจกรรมสังเขป พิธีบวงสรวง ถวายเครื่องสังเวย จัดฟ้อนรำ การแสดงถวาย และขบวนแห่ต่างๆ
2) งานประเพณีสลากภัต
3) งานปี๋ใหม่เมืองแห่ไม่ค้ำศรี (ไม้ค้ำโพธิ์) ประมาณเดือนเมษายน กิจกรรมสังเขป จัดงานประกวดการตกแต่งไม้ค้ำศรี แต่ละชุมชนไปถวายวัด และประกวดขบวนแห่ และประกวดนางสงกรานต์ เป็นต้น
4) งานพิธีตามวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น
5) งานประเพณีประจำปี วันสงกรานต์ วันลอยกระทง
กีฬา นันทนาการ / พักผ่อน
1) สนามกีฬาอเนกประสงค์ 1 แห่ง 2) สนามฟุตบอล 1 แห่ง
3) สนามบาสเก็ตบอล 2 แห่ง 4) สนามตระกร้อ 1 แห่ง
สาธารณสุข
1) โรงพยาบาลในพื้นที่ -
2) ศูนย์บริการสาธารณะสุข จำนวน - แห่ง
3) คลินิกเอกชน จำนวน 3 แห่ง
4) บุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกสังกัดในเขตพื้นที่
- แพทย์ จำนวน - คน - พยาบาล จำนวน - คน
- ทันตแพทย์ จำนวน - คน - เภสัชกร จำนวน - คน
- พนักงานอนามัย จำนวน - คน - เจ้าพนักงานส่งเสริมสาธารณะสุข จำนวน - คน
- เจ้าพนักงานสุขาภิบาล จำนวน - คน - เจ้าพนักงานสาธารณะสุขชุมชน จำนวน - คน
- อสม. จำนวน 69 คน
5) สาเหตุการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณะสุขทุกแห่ง
อุบัติเหตุ 16 ราย/ปี คิดเป็นเงินงบประมาณค่ารักษาทั้งสิ้น 1,350,000 บาท
สาเหตุอื่นๆ - ราย/ปี คิดเป็นเงินงบประมาณค่ารักษาทั้งสิ้น - บาท
การป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
1) สถิติเพลิงไหม้ในรอบปี 1 ม.ค. - ธ.ค. 2548 - ครั้ง
2) ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้ในรอบปี ไม่มี
3) รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน จุน้ำได้ 250 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ 17 ส.ค. 2535
4) รถบรรทุกน้ำ จำนวน 1 คัน จุน้ำได้ จำนวน 500 ลบ.ม. ซื้อเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2535
5) เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม จำนวน - เครื่อง
6) พนักงานดับเพลิง จำนวน 2 คน และคนขับรถ จำนวน 2 คน
7) อาสาสมัครป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณะภัย จำนวน 62 คน
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ภูมิอากาศฤดูร้อนช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน มี.ค. – พ.ค. อุณหภูมิเฉลี่ย 27.5 องศาปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 120 ม.ม.
ฤดูฝนช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน มิ.ย. – ต.ค. อุณหภูมิเฉลี่ย 24.5 องศาปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 170 ม.ม.
ฤดูหนาวช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน พ.ย. – ก.พ. อุณหภูมิเฉลี่ย 22 องศาปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 15 ม.ม.
อุณหภูมิสูงสุด 31.2 องศา ต่ำสุด 7.2 องศา ปริมาณน้ำฝนสูงสุด 350 ม.ม. ต่ำสุด 10 ม.ม.
แหล่งน้ำ
1) หนอง บึง จำนวน - แห่ง
2) คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน 3 แห่ง
- ห้วยแม่ป้าว - ห้วยแม่เฮียว - แม่น้ำแม่วัง
3) การระบายน้ำ
3.1) พื้นที่น้ำท่วมคิดเป็น ร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
3.2) ระยะเวลาน้ำท่วมขังนานที่สุด 2 วัน ประมาณเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม
3.3) เครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง
น้ำเสีย
1) ปริมาณน้ำเสีย 100 ลบ.ม./วัน
2) ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ - ไม่มี
3) ค่า BOD. ในแม่น้ำวัง สายหลัก P 80: mg21 1.6 Cip 3
ขยะ
1) ปริมาณขยะ 1.5 ตัน/วัน
2) รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บ รวม 2 คัน ความจุ 5 ลบ.หลา/คัน ซื้อเมื่อปี 2535
3) ขยะที่เก็บขนได้ จำนวน 1.5 ตัน/วัน
4) ขยะที่กำจัดได้ จำนวน 1.2 ตัน/วัน กำจัดโดยการเผาในเตาเผา
โทร.0-5427-9006 โทรสาร.0-5427-9339 อีเมล :saraban_05520701@dla.go.th
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับn FireFox Google Chrom Designed by กาดนัดเมืองเถินดอทคอม